แจกฟรี "เคล็ดลับหล่อพระแก้ว 25 พุทธศตวรรษ" (พ.ศ. 2568-2599)

ในห้อง 'ธรรมทาน - วิทยาทาน' ตั้งกระทู้โดย glassbuddha2009, 14 พฤษภาคม 2025.

  1. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,714
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,871
    สำรองพื้นที่
     
  2. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,714
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,871
    สารบัญ

    หน้า 3 คห1- เตาหลอม หล่อ อบ แก้วสำหรับงานสร้าง/ซ่อมพระแก้ว 25 พุมธศตวรรษที่สร้างหลังปี พ.ศ. 2550
     
  3. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,714
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,871
  4. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,714
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,871
    เตาหลอมในอดีตต้องแยกเตาออกไปเลย ส่วนมากก็จะเป็นเตาชนิดหลายเบ้าคละสี ขนาด 6-8 เบ้า เตาละจุน้ำแก้วอย่างต่ำ 2.4 - 3.2 ตัน

    เตาหล่อในแก้วปั๊มมีทั้งแบบ มี และ ไม่มี ส่วนแก้วหล่อ Lost Wax นี้ ถ้างานธรรมดาก็ไม่ต้องมี

    เตาอบในอดีตนั้นโรงงานแก้วส่วนมากที่สร้างพระแก้วมักใช้เตาสายพานเหล็กซึ่งใช้เนื้อที่กว้างประมาณ 1.2 X 25 เมตร อบพระแก้วได้หลายร้อยองค์ต่อไม่กี่ ช.ม. (เมื่อได้พระแก้วที่อบเสร็จ คุณภาพมักไม่ค่อยดีเท่าที่ควร)

    แต่ปัจจุบัน เตาแต่ละเตา อบได้เพียง 2 - 4 หรือไม่เกิน 6 องค์ อบครั้งละหลายวันหลายคืน แต่ผลคือคุณภาพที่ดีถึง 100%
     
  5. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,714
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,871
  6. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,714
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,871
    ปัจจุบันเมื่อไม่นานปีมานี้ ผู้ผลิตเตาหลอม หล่อ และอบในเตาเดียวกัน อาศัยการที่ศิลปินแก้วส่วนหนึ่งหันมาใช้เทคนิควิธีการขึ้นรูปชิ้นงานด้วย Lost Wax Glass ซึ่งความจริงเทคนิคนี้ถูกพัฒนาต่อยอดมาหลายร้อยปีในยุโรป แต่กลับไม่เป็นที่รู้จักเทคนิคนี้ในไทยเลย ผู้ผลิตเตาได้พัฒนาเตาของเขาให้มีความสามารถสูงมากๆ และมาสำเร็จตามความฝันของช่างแก้วที่ต้องการความวิเศษต่างๆกัน ช่างอบบางท่านต้องการไม่อยู่ในไซด์งานเพราะแก้วที่ต้องการอบต่อเนื่องหลายวันหลายคืน (ยกตัวอย่างพระแก้วหน้าตัก 8 - 9 นิ้วต้องการ 4 วัน 4 คืน) , ช่างอบบางท่านต้องการหลอมก้อนแก้วก่อนการขึ้นรูปแล้วทิ้งช่วงหล่อระยะหนึ่งก่อน , ช่างบางท่านต้องการอย่างนี้ บางท่านต้องการอีกอย่าง ผู้ผลิตสามารถตอบสนองได้เกือบครบทุกประการแล้ว
     
  7. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,714
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,871
    บางท่านชอบเทคนิคหรือวิธีการอบต่างจากในตำรา เช่น การตั้งรับอุณหภูมิที่สูงกว่าในตำราเล็กน้อย แต่ตรงนี้เป็นเคล็ดลับของช่างเฝ้าเตาบางคนที่ไม่ได้บอก คือ ตั้งรับสูงกว่าเพียงแค่ไม่กี่นาทีแรก แล้วลดลงมาตั้งรับที่อุณหภูมิมาตราฐาน ตรงจุดนี้ เรื่องนี้ไม่ค่อยมีคนบอก เพราะมันคือเคล็ดหรือความลับ ซึ่งเตาอบรุ่นก่อนหน้านี้ยังทำไม่ได้ แต่ปัจจุบันสามารถควบคุมได้แม้จากระยะไกล (ข้ามประเทศ)
     
  8. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,714
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,871
    อย่างไรก็ดีในอนาคตอันใกล้อาจสมบูรณ์กว่านี้อีก เพียงแต่ผมอาจไม่ได้อยู่ทันได้เห็น

    ความโชคดีของคนรุ่นใหม่คือ ปัจจุบันมีคนในวงการแก้วได้ทลายกำแพงปัญหาทิ้งไปเกือบจะทั้งหมด ท่านใดเข้ามาช่วงระยะเวลานี้ เหมือนกับทุกอย่างถูกยกใส่พานมาประเคนให้ต่อหน้าต่อตาครับ
     
  9. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,714
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,871
    ช่วงจากตรงนี้ไปสำคัญมากในความคิดเห็นของผมนะครับ อาจจะกินหลายๆความคิดเห็น หรือเขียนไปมีอุปสรรคเข้ามารบกวน ผมอาจลืมกลับมาทำให้เต็มก็ได้

    ชสค1 (ช่วงสำคัญ 1)
    ท้าวความกลับไปสู่พื้นฐานเรื่องจุดหลอมเหลว ประเภทของแก้ว แก้วทุกชนิดมีทรายทะเลสีขาวที่ผ่านกรรมวิธีแล้วเป็นส่วนประกอบหลัก ถ้าหลอมเฉพาะทรายแก้วล้วนๆโดยไม่ผสมเคมีภัณฑ์อื่นใดช่วยเลย จะต้องใช้ความร้อนที่ประมาณ 2,100C และใช้เวลานานมากในการหลอม

    สารเคมีหรือเคมีภัณฑ์หรือจะเรียกอะไรก็แล้วแต่ ที่ผสมในสูตรเคมีแต่ละสูตร ส่วนมากแล้วจะช่วยลดทั้งเวลาและจุดหลอมเหลว ทั้งนี้แล้วแต่แต่ละสูตรไม่เท่ากัน
     
  10. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,714
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,871
    ชสค2
    สูตรที่ทำให้แก้วมีความแข็งแรงมากๆ ในอดีตนับหลายร้อยปีก่อน เราเพียงแค่เพิ่มทรายทะเลขาวให้มีเปอร์เซนต์ที่มากขึ้น แต่ในปัจจุบันอาจใช้สารเคมีบางตัวทดแทนได้ ซึ่งจุดหลอมเหลวของเคมีมักต่ำกว่าทรายและระยะเวลาหลอมก็สั้นกว่าทราย
     
  11. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,714
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,871
    ชสค3
    คราวนี้ การหลอมแก้วทุกประเภท ต้องใข้เศษแก้วทุบร่วมด้วย คือการหลอมแก้วทุกชนิด ต้องมีเศษแก้วทุบอยู่ในเบ้าหลอมด้วย

    ขสค3.1
    ถ้าเป็นแก้วประเภทใด เศษแก้วก็ควรต้องเป็นแก้วชนิดและเกรดนั้นๆ เช่น

    ขสค3.1.1
    ถ้าเป็นการหลอมแก้วคริสตัล 30% PbO เศษแก้วก็ต้องเป็นเศษแก้วทุบจากแก้วคริสตัล 30% PbO แต่ในคงามเป็นจริง เศษแก้วที่เป็น 30%PbO แท้ๆหาได้ยาก* ยิ่งปัญหาศรัทธาจริต พอจะมีการหลอมแก้วคริสตัลทีไร มักมีคนขอเอาพานแก้วบูชาพระของคนนั้นคนนี้มาร่วมหลอม ซึ่งทำให้เนื้อแก้วมีปัญหา**

    หมายเหตุ
    * = บางคนมีแก้วพานบูชาพระที่บ้าน ตอนที่ซื้อก็ไปซื้อแบบ 18%PbO หรืออย่างมากก็แค่ 24%PbO แถมบางคนไปซื้อพานบูชาที่เขาไม่ได้ใช้สูตรตะกั่ว คือใช้สูตรทดแทนซึ่งสารเคมีต่างกันสิ้นเชิง ที่ซ้ำร้ายคือคนจำนวนมากซื้อพานแก้วบูชาพระที่เขาใช้แก้วโซดาไลม์ซิลิก้าที่นึกว่าเป็นคริสตัล
     
  12. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,714
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,871
    ชสค3.1.1
    หมายเหตุ
    BB6A6533-7061-4323-86ED-20842213C5DE.jpeg
    ** = ซึ่งนอกจากทำให้ผู้สร้างชิ้นงาน หรือโครงการนั้นๆ ได้แก้วที่มีสูตรเคมีที่ไม่แน่นอน ความบริสุทธิ์ คุณสมบัติ และอื่นๆที่มันติดมากับเนื้อแก้วมีปัญหา

    และที่สำคัญคือจุดหลอมเหลว จุดหล่อ จุดสตาร์ทการอบ ตลอดระยะการอบ และจุดสิ้นสุดการอบมีความคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง อันส่งผลให้ไม่เป็นไปตามเป้าหมายไม่ด้านใดก็ด้านหนึ่ง
     
  13. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,714
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,871
    ชสค4
    ถามว่า แล้วผลของการทำเช่นนั้น คือเอาพานดอกไม้บูชาของคนนั้นคนนี้ ซึ่งสูตรแก้วไม่แน่นอน ทำให้พระแก้วที่สร้างนั้นแตก ร้าว หัก กระเทาะ บิ่น ปะทุผิว หรืออื่นๆหรือไม่?

    คำตอบคือก็แล้วแต่ปริมาณความผิดพลาดว่าน้อยหรือมาก แต่ส่วนมากมักจะไม่ถึงขนาดแตก ร้าว หัก และอื่นๆ มีแค่ว่าเปอร์เซ็นต์ความบริสุทธิ์ของคริสตัลไม่ถึง ส่วนจะไม่ถึงมากหรือน้อยเพียงใดนั้นค่อนข้างพิสูจน์ยาก แต่ถ้าผิดตรงที่พานแก้วนั้นเป็นแก้วประเภทโซดาไลม์ซิลิก้าในจำนวนมาก ก็อาจส่งผลให้จุดหลอมเหลว จุดหล่อ จุดสตาร์ทอบไม่ได้เป็นไปตามที่วางแผนไว้ตั้งแต่แรก ซึ่งถ้ามากๆก็อาจส่งผลให้แก้วชิ้นงานนั้นยังคงหลงเหลือความเครียดอยู่ในเนื้องานไม่มากก็น้อย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 พฤษภาคม 2025 at 23:18
  14. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,714
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,871
    ชสค5
    ผมขอยกตัวอย่างงานสร้างพระแก้ว 25 พุทธศตวรรษในอดีต ถ้าตามที่เซียนพระเคยเขียนตำราเป็นประวัติศาสตร์ของชาติไทยเลยว่า มีโรงงานแก้วที่สร้างพระแก้วไม่ถึง 10 โรงงาน และเมื่อ พ.ศ. 2514 ทุกโรงงานได้เลิกการสร้างพระแก้ว 25 พุทธศตวรรศอย่างเด็ดขาด แต่ผมเพิ่งเข้ามาเรียนกับปรมาจารย์แก้วที่สำคัญที่เป็นผู้ร่วมสร้างพระแก้ว 25 พุทธศตวรรษมาตั้งแต่ยุคต้นๆ และท่านได้สอนผมกับทีมช่างแก้วทั้งรุ่นเก่ารุ่นกลางและรุ่นใหม่ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2516 และต่อมาอีกหลายปี และสร้างในจำนวนมากอย่างต่อเนื่องในช่วงนั้น

    และยังมีอีกหลายโรงงานแก้วที่สร้างหลังปี 2521 2522 โดยไม่ต่อเนื่องมาถึงปี พ.ศ. 255X ผมจำ พ.ศ. ไม่ได้เสียแล้วที่โรงงานแก้วเจษฏาก็ยังสร้างอยู่ (ตามภาพที่ผมเคยโพสต์ไว้ในเว็บนี้) และยังมีอีกก็คือตอนที่ผมไปเที่ยวนครปฐมเมื่อประมาณ พ.ศ. 2552 หรือ 2553 ผมเข้าไปโรงงานแก้วแห่งหนึ่ง ยังได้พบอดีตลูกน้องช่างแก้วของผมที่เคยเป็นทีมช่างแก้วในโรงงานของคุณพ่อผมปี 2516-2520 เขาพาผมชมการกดปั๊มพระแก้วในโรงงานที่ผมไปเยี่ยมชมนั้นด้วย
     
  15. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,714
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,871
    ชสค6

    ในปี พ.ศ. 2516-2520 ที่โรงงานแก้วของคุณพ่อผม ตอนนั้นปรมาจารย์ช่างแก้ว 師父 師母 ท่านทั้งสองเมตตาสอนทุกเรื่องเกี่ยวกับแก้ว รวมทั้งการสร้างพระแก้ว 25 พุทธศตวรรษด้วย ในช่วงนั้นการสร้างพระแก้ว 25 พุทธศตวรรษที่ผมกับทีมช่างสร้างนั้น มีทุกสี ทุกขนาด ทุกปาง เราใช้แก้วประเภทโซดาไลม์ซิลิก้าที่หลอมจากทรายขาวผสมเคมีสูตร Sodalimesilica ใช้อุณหภูมิ 1,300C หลอมนานถ้านับตั้งแต่ค่อยๆเติมเข้าเบ้าหลัง 18.00 น. เติมจนเต็มเบ้าประมาณ 23.00 น. ก็ใช้เวลา 14 ชั่วโมง แก้วจะสุกพร้อมใช้เวลา 08.00 น. ของเช้าวันใหม่
     
  16. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,714
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,871
    ชสค7

    หลายๆครั้งที่ผมสังเกตุว่า พระแก้ว 25 พุทธศตวรรษที่สร้างเสร็จแล้วนั้น เมื่อเย็นสนิท บางรุ่นเรามีการกัดกรดบ้าง บางรุ่นส่งต่อไปโรงงานชุบกะหลั่ย บางรุ่นทำอะไรๆเพิ่มเติม แต่แน่นอนว่าทุกองค์ต้องล้างน้ำก่อนบรรจุกล่องกระดาษเพื่อป้องกันการกระทบกันแตก

    ผมสังเกตุเห็นว่า บางองค์แตกเอง บางองค์ร้าว บางองค์บิ่น กระเทาะ ปูดใน ปูดลึก ปูดตื้น เป็นขุยผิว แต่ส่วนมากปกติเรียบร้อยดี จนกระทั่งพระแก้วที่สร้างจากโรงงานเราได้รับการยกย่องว่า เป็นอันดับต้นๆของไทย ส่วนที่ไม่ได้ส่งให้ลูกค้าก็นำมาทุบเป็นเศษแก้วหลอมใหม่ โดยต้องแยกสี
     
  17. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,714
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,871
    ชสค8

    ภายในเตาสายพานเหล็กมีความไม่เสถียร มีจุดที่อุณหภูมิไม่เสมอเหมือนกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ตรงปากปล่องช่องรับชิ้นงานเข้าปากเตาช่วงแรกๆ

    วันนี้ขอตัวพักก่อนครับ มาต่อเมื่อว่าง
     

แชร์หน้านี้

Loading...